ปองพล อดิเรกสาร อดีตรองนายกรัฐมนตรีเข้าพบประธานกรรมการหอการค้าไทย เพื่อเเนะนำโครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมอาหารและเกษตรแปรรูปอุบลราชธานี เเห่งเเรกของภาคอีสานตอนล่าง นำไปสู่ระดับนานาชาติ
ปองพล อดิเรกสาร อดีตรองนายกรัฐมนตรีเข้าพบประธานกรรมการหอการค้าไทย เพื่อเเนะนำโครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมอาหารและเกษตรแปรรูปอุบลราชธานี เเห่งเเรกของภาคอีสานตอนล่าง นำไปสู่ระดับนานาชาติ
1 มิ.ย. 2565 ปองพล อดิเรกสาร อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการบริษัท อุบลราชธานี อินดัสตรี้ จำกัด พร้อมด้วย ปรพล อดิเรกสาร สุวิวัฒน์ เลิศสุรวิทย์ เเละ ณัฐวัฒน์ เลิศสุรวิทย์ ผู้บริหารบริษัท เข้าพบ สนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยเเละสภาหอการค้าเเห่งประเทศไทย สุรงค์ บูลกุล รองประธานกรรมการหอการค้าไทย เพื่อเเนะนำโครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมอุบลราชธานี ที่จะเน้นด้านอาหารเเละสินค้าเกษตรเเปรรูป เเห่งเเรกของภาคอีสานตอนล่าง เเละ ยังได้หารือถึง โอกาส เเละความร่วมมือในการที่จะเชิญชวนผู้ประกอบการ ที่มีศักยภาพ จากประเทศต่างๆ มาลงทุนในนิคมโดยเฉพาะกลุ่มนักลงทุนจากประเทศ ญี่ปุ่น เเละ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ภายใต้การสนับสนุนของสภาหอการค้าเเห่งประเทศไทย ต่อไป โดยนายปรพล เปิดเผยว่า สำหรับโครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมอุบลราชธานี ที่จะเกิดขึ้นอีก 3-4 ปีข้างหน้า เพื่อต้องการดึงนักลงทุนต่างชาติเข้ามากระตุ้นให้เกิดการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยพื้นที่นี้เหมาะสมกับตลาดแรงงานด้านการเกษตร มีทำเลที่เหมาะสมในการทำการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะเศรษฐกิจสามเหลี่ยมมรกต ซึ่งขณะนี้พุ่งเป้าไปที่นักลงทุนชาวญี่ปุ่น ที่มีความสนใจร่วมทุน ผลิตสินค้าด้านการเกษตร สินค้าเกษตรแปรรูป เพราะช่วงที่ผ่านมาญี่ปุ่น กำลังมองทิศทางการลงทุนทางด้านอีสานตอนล่างของไทยด้วย เพราะฝั่งนี้ไม่มีปัญหาด้านความมั่นคงทางชายเเดนเหมือนฝั่งตะวันตก เเละ ยังมีการคมนาคมขนส่งที่สะดวกสามารถเชื่อมไปยังท่าเรือดานัง ของเวียดนามได้ ขณะเดียวกัน นายปรพล เปิดเผยด้วยว่า ประธานกรรมการหอการค้าไทย ระบุว่า ช่วงวันที่ 4-7 กรกฎาคม 2565 จะมีคณะนักธุรกิจจากซาอุดิอาระเบียเดินทางมาเยือนไทย ซึ่งทางหอการค้าไทยได้ให้คำแนะนำกับทางคณะผู้บริหารนิคม ว่า สามารถนำโครงการ ไปนำเสนอ เพื่อเชิญชวนนักลงทุนให้เข้ามาเยี่ยมชมที่ตั้งของโครงการนี้ ซึ่งทางซาอุดิอาระเบีย ก็มีความสนใจ อยู่เเล้วเนื่องจากไทยมีความพร้อมเเละมีศักยภาพด้านการผลิตอาหาร ป้อนตลาดซาอุฯ พร้อมมองว่า น่าจะเป็นประโยชน์ ทั้งนี้ ถ้าหากทางซาอุดิอาระเบียสนใจ ทางบริษัทก็ยินดีที่จะเชิญไปเยี่ยมชมที่ตั้งโครงการนี้ ที่จังหวัดอุบลราชธานีด้วย เพื่อชี้ให้เห็นว่าทางโครงการ เเละพื้นที่ มีความพร้อมทางด้านการผลิตอาหารในการรองรับตลาดที่ซาอุดิอาระเบียต่อไป