“ทองถนิม” เนรมิต “มงกุฎทองคำ” รูปแบบไทยร่วมสมัย สวย สะกดผสานเอกลักษณ์ความเป็นไทยเข้ากับความเป็นสากลได้อย่างลงตัว
“ทองถนิม” เนรมิต “มงกุฎทองคำ” รูปแบบไทยร่วมสมัย สวย สะกดผสานเอกลักษณ์ความเป็นไทยเข้ากับความเป็นสากลได้อย่างลงตัว
เปิดวาร์ปผลงานมงกุฎทองคำไทยร่วมสมัยสุดตระการตา จากแบรนด์เครื่องประดับไทย “ทองถนิม” ที่เคยสร้างผลงานมาสเตอร์พีซมาแล้วหลายชิ้น ไม่ว่าจะเป็นเครื่องประดับชุดไทยพระราชนิยมที่อยู่บนเรือนร่างนางนพมาศอย่าง “เบลล่า-ราณี” ในงานลอยกระทงปี 2563 ของไอคอนสยาม หรือ ผลงานเครื่องประดับทูลเกล้าถวายสมเด็จพระราชินีฯ แห่งราชอาณาจักรภูฏานสั่งทำโดยลูกค้ากิตติมศักดิ์ หรือแม้กระทั่งผลงานพุทธบูชาที่บรรจุอยู่ในพระธาตุเจดีย์องค์สำคัญต่างๆของประเทศไทย
ล่าสุด “ทองถนิม” สร้างความฮือฮาในวงการเครื่องประดับไทย ออกแบบมงกุฎไทยร่วมสมัย ชื่อว่า “ศิราภรณ์แห่งจันทรา” หรือ “มงกุฎแห่งดวงจันทร์” ที่สวมเดินแบบโดย คุณโบว์-เมลดา สุศรี นางนพมาศงานลอยกระทงปี 2565 ไอคอนสยาม นับเป็นมงกุฎที่เรียกความสนใจได้เป็นอย่างมาก เพราะนำลวดลายความเป็นไทยมาออกแบบผสมผสานเข้ากับมงกุฎรูปทรงแบบตะวันตกได้เป็นอย่างดี เกิดเป็นผลงานมงกุฎไทยร่วมสมัยที่แตกต่างอย่างเลอค่า เมื่อหญิงใดได้สวมมงกุฎชิ้นนี้ ก็จะงดงามราวดั่งเจ้าหญิงเทพนิยายที่หลุดออกมาจากวรรณคดีไทย
นอกจากการผสมผสานระหว่างไทยและสากลที่ลงตัวแล้ว คอนเซปต์การออกแบบก็ได้ถูกคิดขึ้นมาอย่างลึกซึ้งเช่นเดียวกัน คุณสิทธิศักดิ์ คูหาวิไล ผู้ก่อตั้งแบรนด์ทองถนิม เล่าให้ฟังว่า “ศิราภรณ์แห่งจันทราชิ้นนี้ สื่อถึงตำนานรักเทพพระจันทร์กับนางโรหิณี ลวดลายบนมงกุฎเป็นลวดลายดอกบัว ซึ่งเป็นอาวุธของเทพพระจันทร์ ประดับด้วยพลอยมูนสโตน อันเป็นหินแห่งดวงจันทร์ มงกุฎจึงเป็นตัวแทนของพระจันทร์ คุณโบ-เมลดา นางนพมาศเปรียบดั่งนางโรหิณี ทั้งสองมาบรรจบพบกัน ดั่งคำมั่นสัญญาของเทพพระจันทร์ที่มีให้กันกับนางโรหิณี เพื่อพิสูจน์รักที่เรามีต่อกัน เราจะมาพบกันที่ตรงกลางของฟากฟ้า ในทุกปีของคืนวันเพ็ญเดือน 12”
“ศิราภรณ์แห่งจันทรา ไม่เพียงแต่ถูกออกแบบขึ้นมาอย่างประณีต หากแต่ยังถูกประดิษฐ์ขึ้นมาอย่างวิจิตรและบรรจง มงกุฎทองคำชิ้นนี้ ใช้ช่างฝีมือด้วยกันทั้งหมดมากกว่า 10 คน ประกอบด้วยช่างออกแบบ ทีมช่างดัดลวด ทีมช่างสลักดุน ช่างเชื่อมประกอบ ช่างอัญมณี และช่างฝัง เทคนิคต่างๆ ที่ใช้เป็นเทคนิคผสมผสานทั้งเทคนิคโบราณแบบดั้งเดิม ที่ถูกสืบทอดมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ผนวกเข้ากับเทคนิคการทำเครื่องประดับแบบประยุกต์ แต่ทั้งนี้ยังคงเอาไว้ซึ่งศิลปะการทำทองด้วยมือตามแบบช่างทองหลวงสมัยโบราณ”
นับเป็นอีกก้าวหนึ่งของวงการเครื่องประดับไทย ที่ได้นำเอาความเป็นสากลมาสอดแทรกเข้ากับความเป็นไทย เพื่อส่งต่อศิลปะไทยให้แพร่หลายสู่สายตาของนานาชาติ เครื่องประดับไทยงดงามไม่แพ้ชาติใดในโลกจริงๆ
สำหรับท่านใดที่ต้องการชมผลงานมงกุฎแห่งดวงจันทร์
สามารถเยี่ยมชมได้ที่หอศิลป์ “สิปปาลัยทองถนิม” โทรเพื่อนัดเยี่ยมชม 095-254-2939
หรือ ติดตามที่ช่องทางเฟสบุค www.facebook.com/tongthanim ไลน์ไอดี @tongthanim