รมว.ดีอี เร่งเพิ่มขีดความสามารถด้านดิจิทัล ปลุกวงการดิจิทัลสตาร์ทอัพไทย ในงาน depa TECH GALA NIGHT คาดกระตุ้นการระดมทุนกว่า 500 ล้านบาท

รมว.ดีอี เร่งเพิ่มขีดความสามารถด้านดิจิทัล ปลุกวงการดิจิทัลสตาร์ทอัพไทย ในงาน depa TECH GALA NIGHT คาดกระตุ้นการระดมทุนกว่า 500 ล้านบาท

รมว.ดีอี เร่งเพิ่มขีดความสามารถด้านดิจิทัล ปลุกวงการดิจิทัลสตาร์ทอัพไทย ในงาน depa TECH GALA NIGHT คาดกระตุ้นการระดมทุนกว่า 500 ล้านบาท

รมว.ดีอี แสดงวิสัยทัศน์ด้านการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของดิจิทัลสตาร์ทอัพไทยในงาน depa TECH GALA NIGHT โดยตั้งเป้าให้ประเทศไทยเป็น Friendly Country สำหรับดิจิทัลสตาร์ทอัพในการเริ่มต้นธุรกิจและเติบโตสู่เวทีระดับโลก ตอบสนองเครื่องยนต์ที่ 1 การเพิ่มขีดความสามารถด้านดิจิทัลในการสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขันของประเทศตามนโยบาย The Growth Engine of Thailand คาดปลุกดิจิทัลสตาร์ทอัพระดมทุนไม่น้อยกว่า 500 ล้านบาท

ประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (รมว.ดีอี) เป็นประธานเปิดงาน ‘depa TECH GALA NIGHT’ โดยมี ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า ฉัตรชัย คุณปิติลักษณ์ รองผู้อำนวยการใหญ่ ดร.ชินาวุธ ชินะประยูร ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ ดร.วาริน รัชนานุสรณ์ ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้น พร้อมผู้บริหารจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงเครือข่ายดิจิทัลสตาร์ทอัพสัญชาติไทยเข้าร่วมงาน

ประเสริฐ กล่าวว่า การเติบโตของระบบนิเวศดิจิทัลสตาร์ทอัพไทยได้รับการท้าทายจากหลากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นกลไกการส่งเสริมด้านเงินทุนที่ตอบโจทย์การดำเนินธุรกิจ การขาดแคลนแรงงานในสาขาที่เกี่ยวข้อง และขาดการส่งเสริมด้านการเข้าสู่ตลาด ซึ่ง กระทรวงดีอี ได้วางแนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลผ่าน 3 เครื่องยนต์สำคัญภายใต้นโยบาย The Growth Engine of Thailand ประกอบด้วย 1. การเพิ่มขีดความสามารถด้านดิจิทัลในการสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขันของประเทศ (Thailand Competitiveness) 2. การสร้างความมั่นคงและปลอดภัยของเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล (Safety & Security) และ 3. การเพิ่มศักยภาพทุนมนุษย์ด้านดิจิทัลของประเทศ (Human Capital)

“กระทรวงดีอี โดย ดีป้า มีแนวทางเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของดิจิทัลสตาร์ทอัพ โดยเน้นการสร้างสรรค์กลไกส่งเสริมด้านเงินทุนใหม่ อาทิ การร่วมลงทุน (Co-investment) และการส่งเสริมให้เกิดการจัดตั้งกองทุนเพื่อการพัฒนาดิจิทัลสตาร์ทอัพสู่ระดับโลก (Digital Startup Go Global) นอกจากนี้ยังมีแผนที่จะแก้ไขปัญหาการขาดแคลนกำลังคนดิจิทัล โดยการดึงดูดผู้ที่มีทักษะสูงเข้ามาทำงานในประเทศผ่าน Global Digital Talent Visa และการสร้างตลาดให้กับดิจิทัลสตาร์ทอัพ รวมถึงความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ในการพัฒนามาตรการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุด 100% ของเงินลงทุนและไม่จำกัดวงเงินเมื่อซื้อสินค้าหรือบริการของดิจิทัลสตาร์ทอัพที่ขึ้นทะเบียนในบัญชีบริการดิจิทัล ทั้งหมดเพื่อส่งเสริมการเติบโตของดิจิทัลสตาร์ทอัพ ตอบสนองเป้าหมายสำคัญของการเพิ่มขีดความสามารถด้านดิจิทัลในการสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขันของประเทศตามนโยบาย The Growth Engine of Thailand พร้อมตั้งเป้าให้ประเทศไทยเป็น Friendly Country สำหรับดิจิทัลสตาร์ทอัพในการเริ่มต้นธุรกิจและสามารถเติบโตสู่เวทีระดับโลก คาดจะกระตุ้นให้ดิจิทัลสตาร์ทอัพระดมทุนไม่น้อยกว่า 500 ล้านบาท” รมว.ดีอี กล่าว

ด้าน ผศ.ดร.ณัฐพล ได้กล่าวถึงความเป็นมาของสถาบันส่งเสริมวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้น ภายใต้การกำกับดูแลของ ดีป้า ที่เริ่มดำเนินงานอย่างเป็นทางการในปี 2561 โดยปัจจุบัน สถาบันฯ ส่งเสริมและสนับสนุนดิจิทัลสตาร์ทอัพไทยไปแล้วกว่า 150 ราย ลงทุนและร่วมลงทุนรวมกว่า 1,200 ล้านบาท อีกทั้งสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจมากกว่า 15,000 ล้านบาท

ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าวต่อว่า ดีป้า ได้เตรียมระบบนิเวศเพื่อรองรับการพัฒนาดิจิทัลสตาร์ทอัพ ไม่ว่าจะเป็น บัญชีบริการดิจิทัล รวมถึงโครงการ Thailand Digital Valley ศูนย์กลางการออกแบบ พัฒนา วิเคราะห์ ทดสอบ ทดลองเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลขั้นสูงของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN Digital Hub) ในอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี โดยเฉพาะอาคาร Digital Startup Knowledge Exchange Center อาคารหลังที่สองของโครงการที่ได้รับการขนานนามว่า ‘แดนสวรรค์ของเหล่าดิจิทัลสตาร์ทอัพจากทั่วทุกมุมโลก’ (The Paradise of Every Nationality Startup) โดยอาคารดังกล่าวจะเป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่รวบรวมดิจิทัลสตาร์ทอัพและกำลังคนสายดิจิทัลเอาไว้มากที่สุดในประเทศ อีกทั้งเป็นศูนย์รวมนวัตกรรมดิจิทัลประเภทต่าง ๆ อาทิ 5G, AI, Blockchain, Digital Service, Digital Content, E-SPORTS, Drone, Software Convergence ฯลฯ ซึ่ง ดีป้า ต้องการเนรมิตอาคารแห่งนี้เป็นพื้นที่พบปะ แลกเปลี่ยนข้อมูลด้านดิจิทัล และสร้างเครือข่ายที่มีความพร้อมสำหรับการต่อยอดธุรกิจของเหล่าดิจิทัลสตาร์ทอัพไทย

“สำหรับงาน depa TECH GALA NIGHT จัดขึ้นเพื่อเป็นพื้นที่แสดงวิสัยทัศน์และเป้าหมาย ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลผ่านการส่งเสริมและสนับสนุนดิจิทัลสตาร์ทอัพไทย ซึ่งถือเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ อีกทั้งเปิดโอกาสให้นักลงทุน หน่วยร่วมลงทุน หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และดิจิทัลสตาร์ทอัพสามารถพูดคุย แลกเปลี่ยนแนวคิด สร้างเครือข่าย และขยายความร่วมมือการลงทุนด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ” ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า กล่าว

ขณะที่ ดร.วาริน ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการเข้าลงทุนใน บริษัท เทคซอส มีเดีย จำกัด (Techsauce) ว่า การที่ ดีป้า เข้าลงทุนใน Techsauce ซึ่งเป็น Tech Ecosystem Builder จะช่วยเกื้อหนุนการดำเนินงานของกันและกัน และยกระดับการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อีกทั้งเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการพัฒนาระบบนิเวศดิจิทัลสตาร์ทอัพไทยและอุตสาหกรรมดิจิทัลของประเทศอย่างเข้มแข็งต่อไป

นอกจากนี้ ภายในงานยังมีช่วงของการ Pitching เพื่อเปิดโอกาสให้ดิจิทัลสตาร์ทอัพที่เข้าร่วมงานไม่ว่าจะเป็น Daywork, Edvisory, Foodie, Futureskill, Graffity, Huap, Ioaday, VISAI, Vounder, Vulcan Coalition, Weserve Platform, Ztrus, ZWIZ.AI และ 24 Solutions ได้นำเสนอข้อมูลบริษัท แนวทางการดำเนินธุรกิจ รวมถึงสะท้อนแนวคิด ข้อเสนอแนะ และข้อเรียกร้องถึงภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

——————————————–