กรมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงเศรษฐกิจไต้หวัน (MOEA) ร่วมกับ TAITRA พาผู้ประกอบการไต้หวันด้านออกแบบสินค้าเป็นเลิศ ร่วมออกบูธ Taiwan Design Pavilion ลุยตลาดไทยอย่างต่อเนื่อง ขยายธุรกิจสู่ระดับโลก

กรมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงเศรษฐกิจไต้หวัน (MOEA) ร่วมกับ TAITRA
พาผู้ประกอบการไต้หวันด้านออกแบบสินค้าเป็นเลิศ
ร่วมออกบูธ Taiwan Design Pavilion ลุยตลาดไทยอย่างต่อเนื่อง ขยายธุรกิจสู่ระดับโลก

กระทรวงเศรษฐกิจไต้หวัน (MOEA) มอบหมายให้สภาส่งเสริมการค้าและการส่งออกแห่งไต้หวัน (TAITRA) ส่งคณะผู้แทนจากบริษัทไต้หวันเข้าร่วมงาน STYLE Bangkok 2024 โดยปีนี้เป็นการเข้าร่วมงานครั้งแรก ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการชาวไต้หวันในการสำรวจวัฒนธรรมและโอกาสทางธุรกิจที่สร้างสรรค์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ งานจัดขึ้นในวันที่ 20 – 24 มีนาคม 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

บูธ Taiwan Design Pavilion จัดแสดงผลิตภัณฑ์ที่มีความโดดเด่นของผู้ประกอบการที่แสดงให้เห็นทั้งทางด้านวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์ของชาวไต้หวัน ด้วยการออกแบบที่เป็นเลิศ การันตีด้วยรางวัลต่าง ๆ รวมทั้งหมด 24 ราย มาร่วมจัดแสดงสินค้ามากกว่า 100 รายการภายในงาน STYLE Bangkok 2024 เพื่อต้องการประชาสัมพันธ์ให้คนไทยรับรู้ถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ไต้หวัน ที่มีการออกแบบสวยงาม ทันสมัย และมีนวัตกรรมเทคโนโลยีล้ำสมัยไม่แพ้สินค้าจากประเทศอื่น ๆ พร้อมกันนี้ในวันเปิดงาน ยังมีการจัดงานเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่จากแบรนด์ไต้หวันที่มาร่วมออกบูธ เพื่อส่งเสริมการรับรู้ถึงงานออกแบบคุณภาพสูงของไต้หวันให้เป็นที่รู้จักในตลาดต่างประเทศ และเพื่อคว้าโอกาสทางธุรกิจในประเทศไทย

จากการคาดการณ์ทางเศรษฐกิจ คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะค่อย ๆ ฟื้นตัวขึ้นภายในปี 2567 โดยค่าการเติบโตของ GDP อยู่ที่ 3.8% โดยอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวยังคงเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทย และด้วยการสนับสนุนจากรัฐบาลยุคปัจจุบัน วัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ภายในท้องถิ่น จึงมีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ ทำให้ประเทศไทยเป็นหนึ่งในศูนย์กลางที่สำคัญที่สุดสำหรับอุตสาหกรรมเหล่านี้ในเอเชีย

 

เพื่อเป็นการช่วยให้คณะผู้ประกอบการจากไต้หวันมีความเข้าใจในตลาดไทยมากยิ่งขึ้น ก่อนงานนิทรรศการ สภาส่งเสริมการค้าและการส่งออกแห่งไต้หวันจึงได้จัดให้มีการเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์จิม ทอมป์สัน, หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) และร้านค้าปลีก เช่น ห้างสรรพสินค้าสยามดิสคัฟเวอรี่ สถานที่เหล่านี้จะให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับราคาในตลาดไทยสำหรับผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงความต้องการของผู้บริโภค ปัจจุบันไต้หวันมีบริษัทผู้ผลิตสินค้าด้านนวัตกรรมสุขภาพ เทคโนโลยีใหม่ ๆ มากมาย เพื่อทำการผลิตสินค้าส่งออกไปขายยังตลาดต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งทางรัฐบาลไต้หวันที่ผ่านมา ก็มุ่งเน้นส่งเสริมเพื่อจะช่วยยกระดับนำสินค้าไต้หวันให้สามารถออกไปแข่งขันเทียบชั้นบนเวทีระดับโลกได้ จึงได้กำหนดองค์ประกอบของสินค้าไต้หวันว่า จะต้องมีทั้งเรื่องของงานวิจัยและการพัฒนา, การออกแบบดีไซน์ที่สวยงาม มีความโดดเด่น, สินค้าต้องมีคุณภาพ ราคาจับต้องได้ และ การทำเรื่องกลยุทธ์การตลาด
Taiwan Design Pavilion ได้จัดแสดงแบรนด์ผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์ที่มีชื่อเสียง เช่น WAGA, DAQICONCEPT, Hu Creates, J.A.B Design, KIN MATON, emspec, Forever Green Bio, HMM, HUROYAMA, novium, PAI PEN PRO, Travel Buddy, csd, Chuan Yu, Dragonfly, DRYTECH, LUFTQI, Sleepville Critters, RICOCAFE, Fukugawa, Cubila, O-GRILL, KANLEE และ Dian-YA เพื่อแสดงถึงการออกแบบที่สร้างสรรค์ งานฝีมือที่มีคุณภาพสูง และผลิตภัณฑ์นำเทรนด์ ซึ่งจะช่วยให้ผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายและมีคุณภาพสูงของไต้หวัน มีความโดดเด่นในเวทีระดับนานาชาติ

Ms. Ya-Lin Chen (หย่า-หลิน เฉิน) ผู้จัดการโครงการ แบรนด์ ฮูโรยาม่า (HUROYAMA) ซึ่งเป็น 1 ใน 24 ผู้ประกอบการไต้หวันด้านการออกแบบเป็นเลิศ ที่การันตีด้วยรางวัลต่าง ๆ ที่ได้มาร่วมออกบูธแสดงสินค้าTaiwan Design Pavilion ครั้งนี้ กล่าวว่า “ปัจจุบัน ฮูโรยาม่า (HUROYAMA) คือ แบรนด์ผู้สร้างสรรค์ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ใช้ในครัวเรือน โดยเฉพาะอุปกรณ์ที่ใช้ในห้องน้ำ และงานครัว ด้วยการผสมผสานแนวคิดการออกแบบที่ง่ายต่อการใช้งานและยกระดับคุณภาพชีวิต สินค้าแปรงทำความสะอาดห้องน้ำและสุขภัณฑ์ จนได้รับรางวัลออกแบบผลิตภัณฑ์ยอดเยี่ยมซึ่งเป็นเครื่องหมายการันตีได้ว่าผลิตภัณฑ์ที่มุ่งเน้นการพัฒนาและออกแบบสินค้าให้อยู่ในคุณภาพสูงที่สุด เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งาน จนได้มีโอกาสขยายธุรกิจผ่านตัวแทนจำหน่ายเข้าไปยังประเทศญี่ปุ่น และ เกาหลี เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้บริโภคแต่ผู้บริโภคหาซื้อได้แค่จากไต้หวันเท่านั้น ฮูโรยาม่า (HUROYAMA) จึงมองว่านี่คือโอกาสทางการตลาด จึงได้ขยายฐานไปยังประเทศญี่ปุ่น และเกาหลีก่อน ปรากฎว่าได้ผลตอบรับที่ดีผ่านยอดขายที่เติบโตขึ้นทุกปี จึงมีแนวความคิดว่าควรขยายธุรกิจออกไปให้กว้างไกลมากขึ้น โดยมองมาที่ตลาดไทยเนื่องจากพฤติกรรมของคนไทยชอบสินค้าที่มีดีไซน์ มีการออกแบบที่สวยงามเหมือนกัน ดังนั้นสินค้าไฮไลท์ 3 ตัว ที่นำมาออกบูธสินค้า Taiwan Design Pavilion ครั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นฝาปิดท่อน้ำเพื่อป้องกันเศษผม หรือ ฝุ่น แปรงขัดห้องน้ำ และ ที่รองนั่งที่สามารถพับเก็บได้สำหรับใช้ไปปิกนิกในสวน จะสามารถช่วยทำให้มีผู้ประกอบการคนไทยสนใจมาเป็นตัวแทนจำหน่ายของ ฮูโรยาม่า (HUROYAMA) เนื่องจากฮูโรยาม่า (HUROYAMA) ยังเป็นแบรนด์น้องใหม่ที่พึ่งก่อตั้งในไต้หวันได้ไม่นาน จึงทำให้ยังมีผลิตภัณฑ์ออกมาจำหน่ายไม่มากนัก แต่ล้วนเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง สามารถจับตลาดผู้บริโภคกลุ่มที่มีกำลังการซื้อระดับปานกลางขึ้นไป”

นอกจากนี้ อีก 1 ผลิตภัณฑ์คุณภาพสูง การันตีด้วยรางวัลต่าง ๆ ที่มาร่วมออกบูธ Taiwan Design Pavilion ครั้งนี้ ได้แก่ แบรนด์ HMM (เฮช เอ็ม เอ็ม) โดย Mr. Michael Lee (ไมเคิล ลี) ผู้ร่วมก่อตั้ง แบรนด์ HMM (เฮช เอ็ม เอ็ม) กล่าวว่า “ปัจจุบัน HMM คือ แบรนด์ ผู้เชี่ยวชาญด้านอุปกรณ์ชงกาแฟและอุปกรณ์สำนักงานที่มีความประณีตในการออกแบบ โดยคำนึงถึงลักษณะการใช้งานจริง รังสรรค์การออกแบบอย่างเรียบง่าย มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ดังนั้นผลิตภัณฑ์ทุกล้วนมาจากงานฝีมือที่ใช้ทักษะขั้นสูง จึงมั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์ทุกชิ้นมีความงดงามเหนือกาลเวลาและสามารถใช้งานได้จริง และนั่นทำให้ผลงานทุกชิ้นของ HMM ได้รับการการันตีด้วยรางวัลต่าง ๆ มากมาย ตั้งแต่ปี 2014 ถึงปัจจุบัน เช่น ปี 2023 NYNOW Winter รางวัลสินค้ายอดเยี่ยม Mugr Cloud ปี 2022 Shopline Best Brand Award รางวัลเหรียญทองการออกแบบบรรจุภัณฑ์ และที่ผ่านมาสินค้าของ HMM เป็นรู้จักอย่างมากในตลาดยุโรป จนมาปี 2567 เป็นโอกาสที่แบรนด์ HMM ต้องการมองหาตลาดใหม่ ๆ ในโซนเอเซียมากขึ้นนอกเหนือจากประเทศญี่ปุ่น เกาหลี ก็คือ ประเทศไทย เนื่องจากพฤติกรรมของคนไทยมีลักษณะคล้ายคลึงกับคนไต้หวันที่ชื่นชอบสินค้าที่มีดีไซน์ โดยที่สินค้าของ HMM อาทิ อุปกรณ์สำนักงานมีความแตกต่างจากแบรนด์อื่น ๆ ในเรื่องของนวัตกรรม ดีไซน์การออกแบบ ที่ไม่เหมือนกับอุปกรณ์สำนักงานอื่น ๆ ทั่วไป เช่น กรรไกรที่ออกแบบมาให้สามารถใช้อีกด้านนึงของกรรไกรกรีดกล่องพัสดุได้ หรือ การออกแบบไม้บรรทัดกับมีดคัทเตอร์ ให้สามารถอยู่รวมกันเป็นชิ้นเดียวได้ อย่างไรก็ดี เป้าหมายของ HMM นอกจากจะพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีนวัตกรรมและดีไซน์ที่ก้าวล้ำมากขึ้นแล้ว ยังต้องการขยายตลาดออกไปให้กว้างขึ้นจากยุโรปมายังตลาดเอเซีย ดังนั้นการมาออกบูธ Taiwan Design Pavilion ครั้งนี้ นอกจากจะมาหาตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทยแล้ว ยังต้องการมาศึกษาพบปะ และสัมผัสกับผู้บริโภคคนไทยว่าเป็นอย่างไร หากในปีนี้สามารถหาตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทยได้ แบรนด์ HMM พร้อมให้การสนับสนุนและเดินหน้าทำการตลาดอย่างเต็มที่”

อีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจอย่างมากเช่นกัน คือ แบรนด์ CSD (ซี เอส ดี) ของบริษัทไชน่า เซอจิเคิล เดรสซิ่ง เป็นบริษัทชั้นนำของไต้หวันในฐานะผู้ออกแบบและพัฒนาสินค้าเกี่ยวกับเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ อาทิ หน้ากากอนามัย ชุดป้องกันเชื้อทางการแพทย์,สำลี, ผ้าพันแผล ภายใต้แบรนด์ CSD โดยบริษัทแห่งนี้มีอายุกว่า 76 ปี แล้ว ดังนั้น CSD จึงเป็นแบรนด์จัดหาเวชภัณฑ์ที่มีความน่าเชื่อถืออย่างมากในวงการแพทย์ และพยาบาล ตามโรงพยาบาลชั้นนำ โดยเฉพาะช่วงวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคระบาดโควิด19 ส่งผลให้ผู้คนคำนึงถึงความปลอดภัยในการดูแลสุขภาพในชีวิตประจำวันมากขึ้น ผ่านวิธีมองหาสินค้าที่มีคุณภาพสูงในการป้องกันตนเองให้ปลอดภัย แม้วันนี้สถานการณ์โรคระบาดโควิด19 จะยุติความรุนแรงลงแล้ว แต่หน้ากากอนามัยก็ยังมีสัดส่วนทางการตลาดที่จะยังสามารถสร้างยอดขายได้อยู่ กล่าวคือ ปัจจุบันผู้บริโภคได้หันมาซื้อหน้ากากอนามัยใช้เพื่อป้องกันฝุ่นพิษ PM 2.5 แทนการซื้อใช้เพียงเพื่อป้องกันโควิด19 โดยเฉพาะประเทศไทยปัจจุบัน เจอปัญหาเรื่องมลพิษและฝุ่น PM 2.5 อย่างมาก ดังนั้น CSD ก็เป็นอีกแบรนด์หนึ่งของไต้หวันที่ต้องการเข้ามาขยายตลาดในประเทศไทย หลังจากก่อนหน้านี้ CSD เป็นแบรนด์หนึ่งที่ขายอยู่ที่ไต้หวัน สิงคโปร์ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และประเทศอื่น ๆ เกือบทั่วโลก ทั้งนี้ การเข้ามาร่วมออกบูธ Taiwan Design Pavilion จึงมีวัตถุประสงค์ในการมาหาตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทย แม้ภาพรวมของตลาดหน้ากากอนามัยในประเทศไทยจะมีสินค้าจากแบรนด์ต่าง ๆ ออกมาทำตลาดให้ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อได้อย่างมากมายก็ตาม แต่หน้ากากอนามัยแบรนด์ CSD นอกจากมีความแตกต่างในเรื่องของการเป็นสินค้าที่มีคุณภาพสูงแล้ว ยังมีจุดเด่นในเรื่องของการออกแบบที่มีสีสันสวยงาม โดดเด่นด้วยความเป็นแฟชันและมีลวดลายต่าง ๆ จึงคิดว่า CSD จะสามารถเข้ามาเจาะตลาดผู้บริโภคคนไทยได้อย่างแน่นอนในอนาคต”

งานนิทรรศการ STYLE Bangkok 2024 จัดขึ้นเป็นระยะเวลารวม 5 วัน ตั้งแต่วันที่ 20 – 24 มีนาคม 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยมีเป้าหมายเพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดหาผลิตภัณฑ์ หรือความร่วมมือระหว่างองค์กรในประเทศและต่างประเทศ สร้างโอกาสในการขยายการส่งออกผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์คุณภาพสูงจากไต้หวัน
###